วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วันที่9กันยายน2557
ครั้งที่4 เวลา 08.30-12.20น.
เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.

สิ่งที่ได้รับ
-อาจารย์อธิบายถึงวิธีเขียนบล็อกที่ถูกต้อง
-เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ 5 คน

บิดาแห่งการศึกษาปรฐมวัย คือ เฟรดริค วิสแฮม เฟรอเบล
 -ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
-ความหมายของวิทยาศาสตร์ การศึกษาสืบค้นและวัดระดับความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
-แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

  1. การเปลี่ยนแปลง
  2. ความแตกต่าง
  3. การปรับตัว
  4. การพึ่งพาอาศัยกัน
  5. ความสมดุล
สรุป
แนวคิดพื้นฐานที่ว่าทุกสิ่งบนโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และความแตกต่างย่อมล้วนแต่มีเหตุผล ความแตกต่างกันหรือคล้ายคลึงกันโดยอาศัยการปรับตัวและพึ่งพาอาศึยกันเพื่อให้เกิดความสมดุล

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  1. ขั้นกำหนดปัญหา
  2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
  3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
  4. ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
  1. ความอยากรู้อยากเห็น
  2. ความเพียรพยายาม
  3. ความมีเหตุผล
  4. ความซื้อสัตย์
  5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
  6. ความใจกว้าง
ความสำคัญและประโยชน์
ความสำคัญ
  • เสริมสร้างประสบการณ์
  • ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
  • พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประโยชน์
  • พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
  • พัฒนาการทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
การประยุกค์ใช้
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทางการจัดกิดกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจะฝึกให้เด็กได้ฝึกปฎิบัติการวิเคราะห์สังเคราะห์ สืบเสาะหาความรุ้ด้วยตัวเอง การทำโครงงาน การทดลองจัดประสบการณ์ ออกแบบกิจกรรมด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

เทคนิคการสอน
  1. มีการใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมที่เกิดจากการระดมความคิด
  2. การนำเสนอบทความ เป็นการวิเคราะห์บทความ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
คุณลักษณะที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งมี13ทักษะดังนี้
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการวัด
  3. ทักษะการจำแนก
  4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
  5. ทักษะการคำนวณ
  6. ทักษะการจัดทำ และสื่อความหมายข้อมูล
  7. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
  8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
  9. ทักษะการพยากรณ์
  10. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
  11. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
  12. ทักษะการกำหนด และควบคุมตัวแปร
  13. ทักษะการทดลอง

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วันที่2 กันยายน 2557
ครั้งที่3 เวลา08.30-12.20น.
เวลาเข้าเรียน08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.

สิ่งที่ได้รับ
เพื่อนออกมานำเสนอบทความ 5 คน

คนที่1 นางสาวกมลวัลย์ นาควิเชียร
เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตูผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับพัฒนา 7 ทักษะกระบวนการ คือ......

  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการวัด
  4. ทักษะการสื่อความหมาย
  5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
  6. ทักะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส,สเปสกับเวลา
  7. ทักษะการคำนวณ
คนที่2 นางสาวศิรดา สักบุตร
เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้

    กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่ห้องสอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ 
     "เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฎิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี้เป็นเด็กชาวเขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช้วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้ง2ภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน" 

    "พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท. มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชาทำให้เด็กๆมีปฏิสัมพันธ์กะบครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมไม่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว"

คนที่3 นางสาวศิรพร พัดลม
เรื่อง เรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ

         อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ "ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย" ซึ่งสอนเด็กๆให้รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์ของอุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อก เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ตัวตัวเอง
          ครูพัชรา อังกูรขจร ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า ขณะนี้พ่อแม่เด็กหลายคนที่เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆได้กลายมาเป็นแกนนำผู้ปกครอง และสามารถจัดตั้งเป็น "เครือข่ายพ่อครู-แม่ครู" ถึง 12 กลุ่มเครือข่าย มาอาสาช่วยสอนและจัดกิจกรรมกับโรงเรียน ผู้ใหญ่หลายท่านในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ส้อดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ก็มาช่วยกัน ซึ่งช่วยแบ่งเบาปัญหาครูขาาดแคลนในพื้นที่ได้เป้นอย่างดี เนื่องจากผู้ปกครองหรือครูบ้างท่าไม่ได้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง ดังนั้น ก่อนทำกิจกรรมเราจะมาประชุมกันก่อนเพื่อสรุปว่า กิจกรรมแต่ละชุด เด็กจะต้องเรียนรู้ คำสำคัญหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ทุกฝ่ายจะได้เข้าใจตรงกันและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเราคงเริ่มที่รัดับประถมศึกษาก่อนถ้าหาก สสวท. สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษษ3 เท่ากับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึง5ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็ก

คนที่4 นางสาวศิริวรรณ กรุดเนียม
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การแยกประเภทเมล็ดพืช มีความแตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัตถุประสงค์
  1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย2ลักษณะ
  2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืช
วัสดุอุปกรณ์
  1. เมล็ดพืช ชนิด ขนาด รูปร่าง สี ที่แตกต่างกัน
  2. ถาด
  3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช  
กิรกรรม
  1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็กทุกคน
  2. หลังจากนั้นให้เด็กๆแยกประเภทของเมล็ด
  3. อธิบายเกี่ยวกับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กๆเดินดูของเพื่อนคนอื่นๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร
คนที่5 นางสาวขวัญฤทัย ใยสุข
เรื่อง การเป่าลูกโป่ง

***เพื่อนหาเนื้อหามาไม่ตรงกับที่อาจารย์สั่ง แต่อาจารย์ให้โอกาสเพื่อนออกไปนำเสนอในส่วนที่ตัวเองเตรียมมา***

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
  • พอใจคนที่ตามใจ
  • มีช่วงความจำสั้น
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง
  • ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจ
  • ช่วยตนเองได้
  • ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
  • พูดประโยคยาวขึ้น
  • ร้องเพลงง่ายๆและแสดงท่าทางเลียนแบบ
เรียนรู้        =   การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เฟลอเบล  =   การเรียนรู้ผ่านการเล่น

ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วันที่26 สิงหาคม 2557
ครั้งที่2 เวลา 08.30-12.20น.
เวลาเข้าเรียน08.30น. เวลาเลิกเรียน12.20น.

สิ่งที่ได้รับ
อาจารย์ได้บรรยายกระตุ้นนักศึกษาก่อนเข้าสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

การยกตัวอย่างจากภาพ

  • การตอกไข่ของเด็ก เด็กจะรู้ว่าไข่สามารถรู้ว่าไข่สามารถแตกได้กากมีการกระแทก และเมื่อไข่แตกจะเกิดอะไรขึ้น เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ได้อีกว่าเมื่อไข่แตกแล้วจะมีของเหลวที่เราเรียกว่าไข่แดง ไข่ขาว ไหลออกมา
  • การเล่นเครื่องเล่น เช่น เด็กเล่นครกกับสาก เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ว่าหากครกกับสากกระทบกันแรงๆจะทำให้เกิดเสียง
สรุป
วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน วิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเครื่องมือการเรียนรู้ คือ
  • คณิตศาสตร์
  • ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะเป็นเรื่องที่ไกล้ตัวเด็กมากที่สุด

วิทยาศาสตร์ คือ
  • ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว และตัวตนของตนเอง
  • ความพยายามเช่นนี้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ้งสะท้อนให้เห็นธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และช่างซักถาม
  • การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง โดยกรสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ